ศรัทธา
หมายถึง ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่งมงายไร้เหตุผล เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ศรัทธาที่มั่นคง หมายถึง ศรัทธาที่มีความรู้กำกับ ไม่หวั่นไหวเอนเอียงไปเพราะความไม่รู้ ความหลงงมงาย
ศรัทธา ความเชื่อ มีหลายระดับชั้น แต่ในที่นี้จะพูดถึงหลักความเชื่อ 4 ประการ ที่ควรศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสุข คือ
ความเชื่อกรรม คือ เชื่อเรื่องการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ ว่ามีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว การทำชั่วทางกายเรียกกายทุจริต ทางวาจาเรียกวจีทุจริต ทางใจเรียกมโนทุจริต ส่วนการทำดีทางกายเรียกกายสุจริต ทาง วาจาเรียกวจีสุจริต ทางใจเรียกมโนสุจริต เป็นความมั่นใจในการกระทำอย่างชัดเจน เหมือนเข็มทิศสำหรับนำพาไปสู่ทิศต่างๆ ความเชื่อด้านนี้ก็จะนำไปสู่การกระทำต่อไป
ความเชื่อผลแห่งกรรม คือ เชื่อว่าการกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะต้องมีผลจากการกระทำนั้นอย่างแน่นอน และไม่มีอะไรสามารถเปลี่ยนแปลงผลของมันได้ กล่าวคือ ถ้าทำไม่ดี ก็ย่อมได้รับผลกรรมจากความทุกข์ ความลำบากเดือดร้อน ความอึดอัดคับแค้น แต่ถ้าทำดี ก็ย่อมได้รับผลเป็นความสุข ความสบาย ไม่เดือดร้อน ไม่อึดอัดวุ่นวาย มีผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ความเชื่อว่าทุกคนมีการกระทำเป็นของตนเอง คือ ความเชื่อที่ตอกย้ำลงไปว่า เมื่อทำดีย่อมได้รับผลดี เมื่อกระทำชั่วก็ย่อมได้รับผมชั่วนั้นตอบสนอง คือ ย่อมจะได้รับผลกรรมนั้นเป็นของตนเองแน่นอน เปรียบกับหว่านพืชผลเช่นใด ก็ได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว โดยที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำกรรมแทนกันได้ ทุกคนล้วนได้รับผลกรรมที่ตนทำขึ้นทุกอย่าง ไม่มีงดเว้น เบี่ยงเบนออกไป
เชื่อในความรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อในพระปัญญาของพระองค์ที่ทรงค้นพบหลักธรรมแล้วนำมาประกาศให้ชาวโลกรู้ ตาม มีความมั่นใจในพระองค์ว่าทรงเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ ตรัสธรรมบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า หากทุกคนฝึกฝนตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดและหลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
ศรัทธา ความเชื่อ มีหลายระดับชั้น แต่ในที่นี้จะพูดถึงหลักความเชื่อ 4 ประการ ที่ควรศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างความสุข คือ
ความเชื่อกรรม คือ เชื่อเรื่องการกระทำที่เกิดขึ้นทางกาย วาจา ใจ ว่ามีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว การทำชั่วทางกายเรียกกายทุจริต ทางวาจาเรียกวจีทุจริต ทางใจเรียกมโนทุจริต ส่วนการทำดีทางกายเรียกกายสุจริต ทาง วาจาเรียกวจีสุจริต ทางใจเรียกมโนสุจริต เป็นความมั่นใจในการกระทำอย่างชัดเจน เหมือนเข็มทิศสำหรับนำพาไปสู่ทิศต่างๆ ความเชื่อด้านนี้ก็จะนำไปสู่การกระทำต่อไป
ความเชื่อผลแห่งกรรม คือ เชื่อว่าการกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายชั่ว จะต้องมีผลจากการกระทำนั้นอย่างแน่นอน และไม่มีอะไรสามารถเปลี่ยนแปลงผลของมันได้ กล่าวคือ ถ้าทำไม่ดี ก็ย่อมได้รับผลกรรมจากความทุกข์ ความลำบากเดือดร้อน ความอึดอัดคับแค้น แต่ถ้าทำดี ก็ย่อมได้รับผลเป็นความสุข ความสบาย ไม่เดือดร้อน ไม่อึดอัดวุ่นวาย มีผลทั้งในชาตินี้และชาติหน้า
ความเชื่อว่าทุกคนมีการกระทำเป็นของตนเอง คือ ความเชื่อที่ตอกย้ำลงไปว่า เมื่อทำดีย่อมได้รับผลดี เมื่อกระทำชั่วก็ย่อมได้รับผมชั่วนั้นตอบสนอง คือ ย่อมจะได้รับผลกรรมนั้นเป็นของตนเองแน่นอน เปรียบกับหว่านพืชผลเช่นใด ก็ได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว โดยที่ไม่มีผู้ใดสามารถทำกรรมแทนกันได้ ทุกคนล้วนได้รับผลกรรมที่ตนทำขึ้นทุกอย่าง ไม่มีงดเว้น เบี่ยงเบนออกไป
เชื่อในความรู้ของพระพุทธเจ้า คือ เชื่อในพระปัญญาของพระองค์ที่ทรงค้นพบหลักธรรมแล้วนำมาประกาศให้ชาวโลกรู้ ตาม มีความมั่นใจในพระองค์ว่าทรงเป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะ ตรัสธรรมบัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า หากทุกคนฝึกฝนตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุดและหลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง
ความเป็นครูแห่งศรัทธา
จากปัญหาการเรียนการสอนโดยภาพรวมแล้วที่ทำให้เด็กไม่มีความสุขในการเรียน ถูกแสดงออกมาหลายเรื่อง เช่น สภาพการเรียนการสอนที่น่าเบื่อ คุณครูไม่ยุติธรรมแก่นักเรียนในเรื่องของการให้คะแนน คุณครูใจร้ายไม่เข้าใจเด็ก เฆี่ยนตีและดุด่าเด็กแบบไม่สุภาพไม่มีเหตุผลคุณครูไม่ค่อยมาสอน คุณครูขี้เมามีกลิ่นสุราติดตัวขณะเข้ามาสอน คุณครูผู้ชายประพฤติตนไม่เหมาะสมกับนักเรียนหญิง ลวนลามแล้วขู่ห้ามบอกใครเด็ดขาด จะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ก็เป็นแค่ส่วนน้อยในโรงเรียนแต่มีเกือบทุกโรงเรียน พฤติกรรมของคูรูในลักษณะนี้ทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมโทรม เนื่องจากไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองและเด็กนักเรียนไม่อยากที่จะไปเรียนไม่รักการเรียน ไม่ตั้งใจเรียน และพฤติกรรมที่ไม่ดีของครูเหล่านี้ยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่นักเรียน ทำให้นักเรียนบางคนเอาเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีของครูไปใช้ ทำให้นักเรียนกลายเป็นเด็กที่ไม่มีคุณภาพ สุดท้ายทำให้มาตรฐานการศึกษาในโรงเรียนต่ำลง ซึ่งสอดคล้องตามความตอนหนึ่ง จากพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๐ ว่า
“ งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติเพราะความเจริญและความเสื่อมนั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า พลเมืองของเราบางส่วน เสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการที่น่าวิตกถ้าหากยังคงเป็นอยู่ต่อไป เราอาจจะเอาตัวไม่รอด ปรากฏการณ์เช่นนี้นอกจากเหตุอื่นแล้ว ต้องมีเหตุมาจากการจัดการศึกษาด้วยอย่างแน่นอน…เราต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น”
อริยสัจ 4 หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงของอริยบุคคล มีองค์ 4 คือ
1. ทุกข์ คือ ความจริงว่าด้วยทุกข์ ความไม่สบาย กายไม่สบายใจ ทุกข์มี 2 ประเภท คือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ ความคิด ความแก่ ความตาย และทุกข์จร ได้แก่ ความโศกเศร้า เป็นต้น
2. สมุทัย คือ ความจริงว่าด้วยเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือความทะยานอยาก มี 3 ประการ คือ กาม ตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
3. นิโรธ คือ ความจริงว่าด้วยการดับทุกข์ หมายถึง การดับหรือการละตัณหา
4. มรรค คือ ความจริงว่าด้วยวิถีทางแห่งความดับทุกข์
ฆราวาสธรรม ธรรมของฆราวาสหรือผู้ครองเรือน บางที่เรียกว่า คฤหัสถ์หรือ ชาวบ้านธรรมดา คือ 1. สัจจะ คือความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน จะทำจะพูดอะไรก็ทำหรือพูดด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงคดโกง
2. ทมะ คือการรู้จักข่มจิตของตน รู้จักข่มความไม่พอใจเมื่อเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คนอยู่ร่วมกันนานๆ ย่อมต้องมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง ต้องรู้จักข่มไม่แสดงอาการพลุกพล่านหรือเกรี้ยวกราด
3. ขันติ คือความอดทน อดทนต่อความลำบากตรากตรำ ในการศึกษาเล่าเรียน ในการงานอาชีพ
4. จาคะ คือความเสียสละ สละวัตถุสิ่งของสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากขาดแคลน สละกำลังกาย กำลังสติปัญญาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
พรหมวิหาร 4
เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ผู้ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
1. เมตตา (ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า)
2. กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
3. มุทิตา (ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง
4 อุเบกขา (ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา
พลธรรม 4
หมายถึง หลักธรรม 4 ประการที่เป็นกำลังในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จด้วยความมั่นใจและปลอดภัยมีดังนี้
1. ปัญญาพละ หมายถึง ปัญญาที่เป็นกำลัง ให้รู้ดี รู้ชอบ รู้ถูกต้อง แล้วปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควรทั้งกายและใจ เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
2. วิริยะพละ หมายถึง ความเพียรพยายามที่เป็นพลัง ในการทำให้คนเราไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ โดยความเพียรนั้นต้องเป็นความเพียรชอบคือ
3. อนวัชชพล หมายถึง การกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง คือทำในสิ่งที่ดีที่เป็นมงคลผู้กระทำจะเกิดความเจริญก้าวหน้า
4. สังคหพละ หมายถึง การสงเคราะห์เป็นกำลังเพราะคนเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม ก็ควรจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อสร้างความรักความสามัคคี ในทางพระพุทธศาสนามีหลักธรรมในการสงเคราะห์ผู้อื่น
อธิษฐานธรรม 4
1. ปัญญา ควรรู้ให้ชัดแจ้งในเหตุผล ให้พิจารณาให้เข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายจนกว่ารู้ความเป็นจริง
2. สัจจะ แปลว่า ดำรงมั่นคงอยู่ในความเป็นจริง ที่รู้แจ้งด้วยปัญญา เริ่มจากความเป็นจริงด้านวาจา จนถึงปรมัตถสัจจะ
3. จาคะ ความสละ หรือการละเสีย หรือการเสียสละ คือ การละจากสิ่งที่ตนเคยชิน ที่ตนยึดมั่นไว้ และสิ่งทั้งหลายที่เป็นการผิดจากความเป็น จริงให้ละวางให้ได้ อันนี้เริ่มต้น จากอมิสาอาชีพ ละไปจนถึงการสละอาชีพ
4. อุปสมะ คือความสงบ คือการระงับโทสะ ระงับความวุ่นวาย อันเกิดจากกิเลสทั้งหลายแล้วทำจิตใจให้สะอาดสงบ
ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ
1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรง
กลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
ความหมายและความสำคัญของค่านิยมอาจกล่าวได้ว่าค่านิยมมีความเกี่ยวพันกับวัฒนธรรม ค่านิยมบางอย่างได้สร้างแก่นของวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ค่านิยมเรื่องรักอิสรเสรีของสังคมไทย ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้” เพราะฉะนั้นค่านิยมจึงมีความสำคัญมากและมีผลกระทบถึงความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม กล่าวคือ สังคมที่มีค่านิยมที่เหมาะสมและ
ถูกต้อง เช่น ถ้าสังคมใดยืดถือค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ หรือความสามัคคี สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าแน่นอนแต่ในทางกลับกัน ถ้าสังคมใดมีค่านิยมที่ไม่สนับสนุนความเจริญ เช่น ค่านิยมที่เชื่อเรื่องโชคชะตาก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่กระตือรือร้น หรือเฉื่อยชา ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนา เป็นต้น
ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 1 การพึ่งพาตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 2 การประหยัดและออม
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 3 การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 4 การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 5 การมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
การปลูกฝังค่านิยม
การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นเก่าไปยังสมาชิกใหม่ของสังคม เกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการเลี้ยงดูเด็กและการขัดเกลาทางสังคม เริ่มต้นจากพ่อ แม่ ญาติ เพื่อน และสื่อต่าง ๆซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนทางสังคมที่ทำหน้าที่ปลูกฝังถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรม เริ่มจากการเป็นแบบอย่างให้เด็กเลียนแบบจนเป็นความเคยชินซึมซับจนกลายเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของเด็กโดยไม่รู้ตัวสิ่งเหล่านี้จะช่วยกล่อมเกลาเด็กให้เกิดการเรียนรู้และรับถ่ายทอดวัฒนธรรมรวมทั้งค่านิยมค่านิยมของอาชีพครู…..การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นที่ได้รับการกล่าวขาน ในวงการศึกษาไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข ตามพระราชบัญญัติ พุทธศักราช 2542 ทำให้ครูได้หันมาให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง ดังนั้นการศึกษาไทยในสังคมนิยมให้ผู้เรียนเน้นการลงมือปฏิบัติ จากความคิดเป็นหลัก เพื่อให้เกิดความรักในการเรียนรู้ โดยส่วนใหญ่ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตนเอง และต้องลงมือทำเพื่อเกิดการเรียนรู้ได้ดี เพราะการบอกสอนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเกิดการเรียนรู้แต่สิ่งสำคัญของการเรียนคือ การฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ เพราะรู้แต่ในเรื่องของทฤษฎีแต่ขาดการลง
มือปฏิบัติก็จะทำให้ขาดการเรียนรู้สมบูรณ์ เพราะผู้เรียนที่ดีต้องได้เกิดการค้นพบ ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง เป็นการส่งเสริมและสร้างศักยภาพให้กับผู้เรียนไปในทิศทางเดียวกันของระบบการศึกษาไทย ถึงแม้ว่าการเรียนการสอนจะได้รับความเจริญทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกันทั้งโรงเรียนในเมือง และโรงเรียนที่อยู่ในชนบท แต่ความจริงคือครูต่างหาก ไม่ว่าจะมีเทคโนโลยีหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญคือผู้สอน ผู้ที่ให้ความรู้ แต่จะให้อย่างไร แบบป้อนข้อมูล หรือแบบบอกวิธีการ ตรงนี้ที่สำคัญมากในการสอนให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง ในฐานะครูคนหนึ่งจึงอยากที่จะสร้างเครือข่ายร่วมกันส่งเสริมครูดี มีฝีมือแบ่งปันความรู้ความคิด ที่มีอยู่ในตนออกมาถ่ายทอดความรู้ความคิดให้กับครูที่ยังขาดประสบการณ์ในการสอน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ถ้าหากวันนี้เรายังไม่พัฒนาที่ตัวเราก่อน แล้วเราจะไปพัฒนาอนาคตของชาติได้อย่างไรกัน ดังนั้น การเรียนการสอนที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน ไม่ใช่ให้เกิดแต่เพียงผลงานและตำแหน่งของครูเท่านั้น ถ้าเราร่วมมือกันสร้างอนาคตของชาติ ผู้เขียนเชื่อว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดี เป็นอย่างยิ่ง เหนือสิ่งอื่นใดอย่าให้..... วัตถุนิยมอยู่เหนือความดีงามของวิชาชีพ
อ้างอิง